การพัฒนาคุณภาพการบริการทางรังสีวิทยา

     ภาควิชาฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพันธกิจด้านการบริการทางการแพทย์ด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลทางรังสีวิทยาที่มีคุณภาพในระดับสากล มีความรับผิดชอบสูงในการนำรังสี สารเภสัชรังสี ตลอดจนเครื่องมือเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยวินิจฉัยหาความผิดปรกติของอวัยวะต่างๆ และช่วยรักษาโรคต่างๆ ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและแพทย์ที่ต้องการค้นหาและการรักษาแบบช่วยเหลือร่วมกัน ภาควิชาฯ ยังนำรังสี สารกัมมันตรังสีมาใช้ในการตรวจและการรักษาโรคมะเร็ง โดยคานึงถึงมาตรฐานและความปลอดภัยของผู้ป่วยและญาติ เจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกภาควิชาฯ

     ปัจจุบันนี้ ภาควิชาฯ ติดตั้งเครื่องมือทางรังสีต่างๆ ตลอดจนเทคนิคการตรวจและรักษาใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษา เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำมาใช้บริการทางการแพทย์ทางด้านรังสีวิทยา ทั้ง 3 สาขาวิชา เช่น การวินิจฉัยด้วยเครื่องมือทางรังสีวิทยาขั้นสูง การรักษาผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์และผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน รังสีรักษาของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ นอกจากนี้ภาควิชาฯ ยังได้รับการยอมรับมาตรฐานความปลอดภัยทางด้านรังสีในระดับต้นของประเทศและสามารถชี้นำสังคมในด้านดังกล่าว

หน่วยบริการ สถานที่สำคัญ

– ศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช อาคารผู้ป่วยนอกชั้นพื้นดิน
– ศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
– ศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช อาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา (ชั้น 4)
– ศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช อาคาร 84 ปี
– หน่วยตรวจเอกซเรย์ อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 3
– หน่วยตรวจเอกซเรย์ ตึกอุบัติเหตุ ชั้น 1
– หน่วยตรวจรังสีวินิจฉัย ตึก 72 ปี ชั้น 2
– ศูนย์ภาพวินิจฉัยเต้านมศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 2
– หน่วยตรวจเอกซเรย์ ตึกสยามินทร์ ชั้น 1
– หน่วยบริการเอกซเรย์เคลื่อนที่ ตึก 72 ปี ชั้น 1
– หน่วยตรวจรังสีรักษา ตึก 72 ปี ชั้น 1 และชั้นใต้ดิน
– หอผู้ป่วยรังสีรักษา ตึก 72 ปี ชั้น 6 ตะวันออกและ ชั้น 9 ตะวันตก
– อาคารรังสีราชนครินทร์
– ศูนย์รังสีศัลยกรรม ชั้น B2 โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์
– ศูนย์ไซโคลตรอนศิริราช ชั้น B2 โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์
– หน่วยตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อาคารศูนย์โรคหัวใจฯ ชั้น 10
– หน่วยไทรอยด์คลินิก อาคารศูนย์โรคหัวใจฯ ชั้น 11

เครื่องมือทางรังสีและเทคโนโลยีที่สำคัญ

สาขาวิชารังสีวินิจฉัย

    – ระบบสารสนเทศภาพรังสี Picture Archive Communication System (PACS)
    – คอมพิวเตอร์อ่านผลภาพรังสี จำนวน 166 เครื่อง
    – เครื่องตรวจสนามแม่เหล็กแรงสูง ( MRI ) 3 เครื่อง
    – เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT Scan ) 5 เครื่อง
    – เครื่องตรวจพิเศษ fluoroscopy 3 เครื่อง
    – เครื่องอัลตราซาวน์ 21 เครื่อง
    – เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 11 เครื่อง
    – เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ 14 เครื่อง
    – เครื่องเอกซเรย์ฟัน 1 เครื่อง
    – เครื่องเอกซเรย์เต้านม 1 เครื่อง

สาขาวิชารังสีรักษา

    – เครื่องจำลองภาพ 3 มิติทางการแพทย์ 1 เครื่อง
    – Teletherapy ชนิด Linear accelerator สาหรับ 3DCRT, IMRT, IGRT 3 เครื่อง
    – Conventional simulator 2 เครื่อง
    – CT simulator 2 เครื่อง
    – MRI simulator 1 เครื่อง
    – เครื่องเอกซเรย์ซีอาร์ม 1 เครื่อง
    – Computerized treatment planning system 25 เครื่อง
    – เครื่องสอดใส่แร่อิริเดียม 192 ชนิด
    – HDR Remote after loading system 1 เครื่อง
    – ระบบเครือข่ายรังสีรักษา 1 ชุด Radiation field analyzer (Scanner) 2 เครื่อง
    – Dosimeter system 9 เครื่อง
    – Radiation check source 3 เครื่อง
    – In vivo dosimetry 1 เครื่อง

สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์

    – เครื่องผลิตสารรังสีโพสิตรอน (Cyclotron) 1 ระบบ
    – เครื่อง PET/CT 1 เครื่อง
    – เครื่องถ่ายภาพอวัยวะสามมิติ SPECT/CT 4 เครื่อง
    – เครื่องถ่ายภาพอวัยวะสามมิติ SPECT 1 เครื่อง
    – เครื่อง Thyroid uptake 2 เครื่อง
    – เครื่องตรวจสอบสมรรถภาพการทางานของหัวใจ 1 เครื่อง
    – เครื่องผลิตก๊าซสาหรับตรวจปอด 1 เครื่อง
    – เครื่องวัดความแรงรังสี 4 เครื่อง
    – เครื่องสารวจรังสีและการเปรอะเปื้อนทางรังสี 5 เครื่อง
    – เครื่องวัดความหนาแน่นมวลกระดูก 1 เครื่อง