Skip to content
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Siriraj Radiology Department (SIRAD)
Main Menu
เกี่ยวกับ
Menu Toggle
คณะผู้บริหาร
คณาจารย์
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
บุคลากร
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
สำนักงานภาควิชา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม
ประวัติภาควิชารังสีวิทยา
การศึกษา
Menu Toggle
ก่อนปริญญา
Menu Toggle
หลักสูตรแพทยศาสตร์
หลังปริญญา
Menu Toggle
หลักสูตรวุฒิบัตรแพทย์ประจำบ้านและต่อยอด
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
หลักสูตร วท.ม.ฟิสิกส์การแพทย์
คณะกรรมการการศึกษาหลังปริญญา
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา และมะเร็งวิทยา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
สำนักงาน
การประเมินคุณภาพการศึกษา
Menu Toggle
EdPEX
WFME
Menu Toggle
WFME หลักสูตรวุฒิบัตรฯสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย
WFME หลักสูตรวุฒิบัตรฯสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
WFME หลักสูตรวุฒิบัตรฯสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
กิจกรรมการศึกษา
วิชาการ
Menu Toggle
ประชุมวิชาการ
Menu Toggle
Upcoming events
Past events
คณะกรรมการฝ่ายวิชาการภาคฯ
งานบริการ
Menu Toggle
ความรู้สู่ประชาชน
Menu Toggle
การป้องกันอันตรายจากรังสี
VDO ความรู้ทางการแพทย์ด้านรังสีวิทยา
การรับรอง Advanced HA
Menu Toggle
งานพัฒนาคุณภาพ-การบริการทางรังสีวิทยา
QUATRO
QUADNUM
ตารางแพทย์รังสีรักษา
ขั้นตอนการรับบริการ
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาคุณภาพภาคฯ
งานวิจัย
Menu Toggle
MOU วิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งานบริการด้านวิจัย
กิจกรรม ฝ่ายงานวิจัย
คณะกรรมการฝ่ายวิจัยภาคฯ
กิจกรรมและข่าว
Menu Toggle
ข่าวกิจกรรม
ประกาศ
รางวัล-เกียรติยศ
งานบุคคล
ตำราและหนังสือ
วารสารรังสีวิทยาศิริราช
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นวิธีการทางภาพทางการแพทย์ที่ใช้เทคนิคที่เรียกกันว่า tomography ซึ่งเป็นการสร้างภาพแบบ 3 มิติ คือมี กว้าง ยาว สูง จากชุดของภาพเอกซเรย์ที่ได้ใน 2 มิติ แต่เดิมจะเรียกเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ว่า “electromagnetic imaging (EMI) scan” และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น computed axial tomography (CAT or CT scan) ข้อมูลภาพเอกซเรย์ที่ได้จะถูกสร้างให้มีลักษณะเป็นปริมาตร ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะในการนำเสนอเป็นภาพอวัยวะในมุมมองต่างๆ ได้ตามต้องการ
ประโยชน์
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องทางรังสีวินิจฉัยที่มีประโยชน์ในการประเมินลักษณะทางกายวิภาคของอวัยวะต่างๆ และในด้านการทำงานโดยร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี (สารประกอบไอโอดีน) เพื่อดูการทำงานของเนื้อเยื่อในอวัยวะนั้นๆ และลักษณะของหลอดเลือด ปัจจุบันเป็นการตรวจที่นิยมเนื่องจากใช้เวลาในการตรวจน้อย แต่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีที่ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามด้วยวิวัฒนาการทำให้สามารถแสดงภาพได้ในมุมมองต่างๆ และภาพ 3 มิติ ซึ่งมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การตรวจที่นิยมส่งตรวจได้แก่
สมอง
ศีรษะและลำคอ
ทรวงอกและปอด
ตับ
ช่องท้องทั้งหมด
ข้อด้อย
คือภาพการตรวจกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งจะให้รายละเอียดได้ในระดับหนึ่ง จึงแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจด้วยเครื่องคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทน
ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โพรงจมูก
ประวัติ
นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ชื่อ Alessandro Vallebona ได้รายงานการใช้เทคนิค tomography ประมาณปีพ.ศ. 2475 แต่การพัฒนาเป็นไปอย่างช้าๆ จนราว พ.ศ. 2514ซึ่งได้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์แล้ว นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญคือ Godfrey Newbold Hounsfield และ Allan McLeod Cormack ร่วมกันพัฒนาเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จนผลิตออกมาเพื่อการค้าในประเทศอังกฤษ และทั้งสองได้รับรางวัล Nobel ร่วมกันในสาขาการแพทย์ในปี พ.ศ. 2522
แม่แบบเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
แม่แบบเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยเป็นเครื่องที่มีตัวรับภาพ 160 จุด และหลอดเอกซเรย์หมุนได้ 180 องศา ซึ่งในการสแกน 1 ครั้ง ต้องใช้เวลาประมาณ 5 นาที และใช้เวลาอีก 2.5 ชม. ในการสร้างภาพบนมินิคอมพิวเตอร์ ต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสมอง ซึ่งต้องใช้เวลาสแกนภาพละ 4 นาที และใช้เวลาในการสร่างภาพอีก 7 นาที นั่นคือต้องใช้ราว 11 นาทีต่อการสแกน 1 ภาพ และต้องมีระบบถังน้ำที่หุ้มยางไว้ ซึ่งจะช่วยลดพลวัตของรังสีที่จะไปยังตัวรับภาพ จึงจะได้ภาพที่ดี แต่กระนั้นภาพที่ได้ก็ยังมีรายละเอียดที่ต่ำอยู่ โดยเป็นภาพขนาด 80 x 80 pixels. ซึ่งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกได้ติดตั้งที่ Atkinson Morley Hospital เมือง Wimbledon ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ทำการสแกนผู้ป่วยรายแรกในปี พ.ศ. 2515
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดภาพตัดขวางพื้นฐาน Conventional Axial CT scanner
หลอดเอกซเรย์ภายในเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะหมุนเป็นวงรอบผู้ป่วย เพื่อให้ลำรังสีผ่านตัวผู้ป่วย 1 รอบต่อ 1 ภาพที่จะได้ โดยเตียงจะเลื่อนไปทีละตำแหน่ง ภาพที่ได้จะถูกนำมาสร้างเป็นภาพตัดขวางของอวัยวะได้ทีละภาพ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบเกลียว Helical or spiral CT
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบเกลียวได้ผลิตขึ้นในปี 2533 โดยติดหลอดเอกซเรย์และตัวรับภาพไว้บนแกนที่หมุนได้อย่างอิสระ ระหว่างการสแกน เตียงจะเลื่อนไปอย่างเร็ว ทำให้การสแกนอวัยวะปกติใช้เวลาเพียง 20-60 วินาที ซึ่งมีข้อดีเพิ่มขึ้นคือ
1) ผู้ป่วยกลั้นใจได้ตลอดช่วงการสแกน ทำให้ลดการไหวของภาพได้
2) สามารถสแกนร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีได้
3) ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีรายละเอียดที่ดีขึ้น และสามารถนำมาสร้างเป็น 3 มิติได้
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด Multislice CT
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด Multislice CT มีแนวคิดคล้ายกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดเกลียวแต่มีวงแหวนตัวรับภาพ 2 วง ซึ่งออกแบบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2536โดยบริษัท Elscint (Haifa) โดยเรียกชื่อว่า CT TWIN ปัจจุบันมีการผลิตออกมาในหลายรูปแบบตามจำนวนตัวรับภาพ โดยเรียกเป็น 4, 8, 16, 32, 40 และ 64 slice ซึ่งทำให้ความเร็วในการสแกนเพิ่มขึ้นอย่างมาก คือราว 3 วินาทีต่อการสแกน 1 รอบ ซึ่งจะได้ภาพตามจำนวนของ slice และได้ภาพละเอียดสูงถึง 0.35 มม. ทำให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในการตรวจภาพของหลอดเลือด ภาพ 3 มิติ และมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการปรับแต่งภาพในมุมมองต่างๆ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ชนิด 2 แหล่งกำเนิด Dual-source CT
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 2 แหล่งกำเนิดได้พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Siemens ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเอกซเรย์ 2 หลอด และมีตัวรับภาพ 64 แถว จำนวน 2 ชุด ซึ่งได้ออกสู่ตลาดในปีพ.ศ. 2548 มีข้อคือลดมุมของการหมุนของหลอดเอกซเรย์ และได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงขึ้น มีความเหมาะสมกับการตรวจหลอดเลือดหัวใจ การตรวจแคลเซียม และอุปกรณ์เทียมที่ใส่ไว้ในร่างกาย เช่น โครงลวดถ่างขยายหลอดเลือด
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ชนิด 256+ slice CT
ในปีพ.ศ. 2550 บริษัทฟิลิปส์ ได้นำเสนอเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 256 slice และบริษัทโตชิบาได้นำเสนอเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 320 slices ความก้าวหน้าในทางเทคนิคกำลังมุ่งไปสู่การลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับ และการได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงสำหรับการตรวจหลอดเลือดและการตรวจการทำงานของสมอง
อันตราย
ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับการขอบเขตการสแกนอวัยวะ รูปร่างของผู้ป่วย จำนวนและความละเอียดในการตัด ซี่งยังต้องแยกระหว่างการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ใหญ่และในเด็ก หากต้องพิจารณาในเชิงปริมาณรังสี การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ และคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
ตารางเปรียบเทียบปริมาณรังสี
การตรวจ
ปริมาณรังสี (mSv)
(milli rem)
เอกซเรย์ปอด
0.1
10
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
1.5
150
เอกซเรย์เต้านม
3
300
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง
5.3
530
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด
5.8
580
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดและช่องท้องทั้งหมด
9.9
990
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่เสมือน
3.6 – 8.8
360 – 880
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดหัวใจ
6.7-13
670 – 1300
การสวนแป้งลำไส้ใหญ่
15
1500
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องในเด็ก
20
2000
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีน้อย Low-Dose CT Scan
ประเด็นสำคัญในทางรังสีวิทยาทุกวันนี้ก็คือการลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับระหว่างการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แม้ว่าการให้ปริมาณรังสีที่มากจะทำให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงมากกว่าก็ตาม แต่จะต้องเปรียบเทียบข้อได้กับข้อเสีย โดยอาจลดปริมาณรังสีลงได้บ้าง ตามโปรแกรมช่วยต่างๆ การปรับค่าพารามิเตอร์ในการสแกนให้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วยแต่ละราย รวมไปถึงการประเมินความจำเป็นของการตรวจนั้นๆเพื่อลดการตรวจที่ไม่จำเป็นลง
ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง
ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หลอดเลือดผิดปกติ
การแพ้สารทึบรังสี
ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นมักจะมีการฉีดสารทึบรังสีซึ่งเป็นสารประกอบไอโอดีนร่วมด้วย เพื่อเปรียบเทียบเนื้อเยื่อก่อนและหลังการฉีด อย่างไรก็ตามจะมีผู้ป่วยบางรายที่สามารถแพ้สารทึบรังสี ซึ่งป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนประเภทการตรวจ เช่นการตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเลือกใช้สารทึบรังสีกลุ่มไม่มีประจุ ซึ่งจะมีอัตราการแพ้ที่น้อยกว่า รวมไปถึงการให้ยาแก้แพ้ล่วงหน้าก่อนการตรวจ ก็จะช่วยลดอาการแพ้สารทึบรังสีได้ กระนั้นผลอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยคือสารทึบรังสีจะขับออกทางไต ดังนั้นจึงมีผลต่อไตด้วย โดยในการฉีดสารทึบรังสีจะพิจารณาเฉพาะในผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตอยู่ในระดับดี (Cr<2)