หน่วยงาน
หน่วยบริการภายในสาขาวิชารังสีรักษา
1. หน่วยฉายรังสี
สถานที่ หมายเลขโทรศัพท์
- อาคารเร่งอนุภาค ชั้นใต้ดิน (ห้องฉาย L4) 02-419-7077
- ตึกปิยมหาราชการุณย์ ชั้น B2 (ห้องฉาย L5) 02-419-1921
- ตึกรังสีราชนครินทร์ ชั้นใต้ดิน (ห้องฉาย L6) 02-419-7210
- ตึกนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ชั้น B2 (ห้องฉาย N1, N3, N4, N5) 02-414-0001-5
หน้าที่และเป้าหมาย
ให้บริการจำลองการรักษาเพื่อกำหนดขอบเขตการรักษา รวมทั้งการฉายรังสีรักษาผู้ป่วยด้วยเทคนิคการฉายรังสีต่างๆทั้งแบบพื้นฐานและเทคนิคพิเศษ เช่น 3DCRT, IMRT, IGRT, SRS, SRT/SBRT เป็นต้น ด้วยความปลอดภัย ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและคุณภาพตามมาตรฐาน ตามแผนการรักษาที่กำหนดมาโดยรังสีแพทย์
ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการการรักษาผู้ป่วยด้วยรังสีชนิดต่างๆ ได้แก่การวางแผนการรักษาด้วยรังสี (Simulation), การประดิษฐ์อุปกรณ์กำบังลำรังสี (Individual block), การฉายรังสีจากภายนอก (External beam radiation therapy), การใส่แร่ด้วยสารกัมมันตภาพรังสี (Brachytherapy) โดยนักรังสีการแพทย์มีบทบาทร่วมกับทีมพัฒนาคุณภาพงานบริการรังสีรักษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานโดยมีหน้าที่ดังนี้คือ
- ดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อจุดเน้นของสาขาวิชารังสีรักษาด้านบริการ
- ให้บริการผู้ป่วยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ, รวดเร็วและได้รับความพึงพอใจ
- มีแนวปฏิบัติในการประเมินข้อมูลการฉายรังสีรักษาเพื่อป้องกันและลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
- มีแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและญาติ, บุคลากรในสาขาวิชารังสีรักษา และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ
2. หน่วยรังสีศัลยกรรม (Siriraj Radiosurgery Center)
สถานที่ตั้ง/เบอร์ติดต่อของหน่วยงาน
: อาคารโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ชั้น B2 โทร.02-4191926
หน้าที่หลักและเป้าหมายที่สำคัญ
- เพื่อให้บริการการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งและเนื้องอกสมองรวมถึงความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่มีขนาดเล็ก ด้วยการฉายรังสีศัลยกรรม (stereotactic radiosurgery/radiotherapy – SRS/SRT) รวมถึงรังสีศัลยกรรมสำหรับ extracranial disease (stereotactic body radiation therapy – SBRT)โดยมุ่งเน้นการรักษาเชิงลึกในสำหรับโรคที่ความซับซ้อนและมีข้อบ่งชี้ที่จะใช้เทคนิคพิเศษชนิดนี้ โดยการรักษาด้วย SRS/SRT/SBRT จะเป็นการฉายรังสีปริมาณสูงจำนวน 1-10 ครั้งไปยังรอยโรคและหลบเลี่ยงอวัยวะสำคัญที่อยู่ใกล้เคียง เนื่องจากเป็นการฉายรังสีปริมาณสูงในแต่ละครั้งจึงต้องการแผนการรักษาที่มีความแม่นยำ เที่ยงตรง และปลอดภัย เพื่อทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ, ลดผลข้างเคียงจากการรักษาและลดจำนวนครั้งของการรักษาลง
- ให้การบริการที่รวดเร็วตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และผู้ป่วยมีความปลอดภัยในระหว่างและภายหลังจากที่รับการรักษา
- เป็นแหล่งของการศึกษา เรียนรู้ ดูงานให้กับบุคลากรภายใน และภายนอกคณะ
- สร้างงานวิจัยในเชิงลึกเกี่ยวกับการรักษาด้วย SRS/SRT/SBRT
ขอบเขตการให้บริการ
เป็นลักษณะของการให้บริการแบบ super-tertiary care โดยมีเครื่องฉายรังสีขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เฉพาะ โดยเป็นการวางแผนการรักษาด้วยเทคนิคเฉพาะ มีความซับซ้อน มีความละเอียด เพื่อให้ได้ปริมาณรังสีอย่างเหมาะสม และมีการตรวจสอบความถูกต้องของแผนการรักษา และรวมถึงกระบวนการระหว่างทำการรักษาด้วยเครื่องฉายรังสีศัลยกรรมและภาพนำวิถี (image guided radiation therapy- IGRT) ที่มีลักษณะเฉพาะ และมีความแม่นยำสูงสุด
3. หน่วยตรวจรังสีรักษา
สถานที่ตั้ง/เบอร์ติดต่อของหน่วยงาน : ตึก 72 ปี ชั้น 1 หมายเลขโทรศัพท์ 02-419-7082
หน้าที่หลักและเป้าหมาย
ให้บริการผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสีรักษา การตรวจติดตามผลการรักษา การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล มีความพึงพอใจเน้นให้บริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการผู้ป่วยมะเร็งที่มาปรึกษา วางแผนการรักษาด้วยรังสีรักษา ตรวจติดตามผลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
4. หน่วยฟิสิกส์การแพทย์
สถานที่ตั้ง/เบอร์ติดต่อของหน่วยงาน : ตึก 72 ปี ชั้น 1 หมายเลขโทรศัพท์ 02-419-7814
หน้าที่และเป้าหมาย
- วางแผนการรักษาด้วยเทคนิคต่าง ๆ ของการฉายรังสีและการสอดใส่สารกัมมันตรังสี, คำนวณการกระจายรังสีในผู้ป่วย ตลอดจนคำนวณเวลาในการฉายรังสี และวัดทดสอบความถูกต้องของการคำนวณได้
- สามารถควบคุม บำรุงรักษา ตรวจสอบการทำงานของเครื่องมือทางรังสีรักษาและอุปกรณ์ประกอบ ให้มีคุณภาพ ตรวจสอบคุณลักษณะของลำรังสีเพื่อความถูกต้อง คงที่ โดยอาศัยหลักการทางรังสีฟิสิกส์
- จัดระบบการประกันคุณภาพเครื่องมือ และกระบวนการฉายรังสี รวมทั้งจัดหาเครื่องมือสำหรับการประกันคุณภาพ
- จัดระบบการป้องกันอันตรายจากรังสีในด้านรังสีรักษาทั้งแก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ป่วย ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป
- ควบคุมสารกัมมันตรังสี การจัดเก็บ และการตรวจวัดรังสีรั่วไหล
ขอบเขตการให้บริการ
- ใช้กระบวนการทางฟิสิกส์การแพทย์ในการใช้รังสีรักษาผู้ป่วยทั้งแบบระยะไกล (External Beam Therapy) และระยะใกล้ (Brachytherapy)
- ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพในการวางแผนจัดหาเครื่องมือ บุคลากร อย่างเหมาะสมและเพียงพอ
- จัดการระบบประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพเครื่องมือรังสีรักษาในสาขาวิชารังสีรักษา
- วัด คำนวณปริมาณรังสี และวางแผนการรักษา
- ควบคุมและดูแลความปลอดภัยจากรังสีตามมาตรฐานสากล
5. หน่วยรักษาด้วยสารกัมมันตรังสี
สถานที่ตั้ง/เบอร์ติดต่อของหน่วยงาน ตึก 72 ปี 6 ตะวันตก หมายเลขโทรศัพท์ 02419-7109
หน้าที่หลักและเป้าหมาย
ให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการสอดใส่ ฝัง และวางสารกัมมันตรังสี อิริเดียม-192 เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างปลอดภัย มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความพึงพอใจ
ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งอื่นๆ ที่มารับการรักษาด้วยการสอดใส่ ฝัง และวางสารกัมมันตรังสี อิริเดียม-192 ทั้งในระยะก่อน ขณะและภายหลังการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสี ทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยที่ปรึกษาจากโรงพยาบาลอื่นๆ ในเวลาราชการ
6. หน่วยสอนสุขศึกษาฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยมะเร็ง
สถานที่ตั้ง/เบอร์ติดต่อของหน่วยงาน ตึก 72 ปี ชั้น 1 โทรศัพท์ 02-4197816
หน้าที่หลักและเป้าหมาย
ให้คำแนะนำผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษาเพื่อป้องกันหรือบรรเทาภาวะแทรกซ้อน ขณะและหลังการรักษา โดยมุ่งหวัง ให้ผู้ป่วย/ครอบครัวมีทักษะและสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการผู้ป่วยโรคมะเร็งและกลุ่มโรคเฉพาะทุกระบบ ที่ได้รับรังสีรักษาและเคมีบำบัด ทุกเพศ ทุกวัย และติดตามผลหลังการรักษา
7. หอผู้ป่วย 72 ปี ชั้น 6 ตะวันออก
สถานที่ตั้ง/เบอร์ติดต่อของหน่วยงาน ตึก 72 ปี ชั้น 6 ตะวันออก หมายเลขโทรศัพท์ 02-419-7110
หน้าที่หลักและเป้าหมาย
ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาด้วยการฉายรังสี ฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด ให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพึงพอใจในการบริการ
ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอายุตั้งแต่อายุ 15 ปี ขึ้นไป เป็นผู้ป่วยสามัญชาย 9 เตียง ผู้ป่วยพิเศษรวมชาย 3 เตียง และผู้ป่วยห้องพิเศษเดี่ยวทั้งชายและหญิง 7 เตียง ที่มารับการรักษาด้วยการฉายรังสี ฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด ยาเคมีบำบัด รักษาแบบประคับประคอง และผู้ป่วยวาระสุดท้าย รวมทั้ง ผู้ป่วยที่มารับบริการทางรังสีร่วมรักษา (TACE/RFA) ผู้ป่วย Prostate ที่รักษาด้วยการฝังสารกัมมันตรังสี
8. หอผู้ป่วย 72 ปีชั้น 9 ตะวันตก
สถานที่ตั้ง/เบอร์ติดต่อของหน่วยงาน ตึก 72 ปี ชั้น 9 ตะวันตก หมายเลขโทรศัพท์ 02-419-7112 , 02-419- 9195
หน้าที่หลักและเป้าหมาย
ให้บริการผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มารับการรักษาด้วยรังสีรักษา เคมีบำบัด เวชศาสตร์นิวเคลียร์และรังสีร่วมรักษา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีคุณภาพ บรรเทาความทุกข์ทรมานจากโรค ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทางรังสี เคมีและการทำหัตถการทางรังสีร่วมรักษา ลดโอกาสปนเปื้อนรังสีสู่บุคคลข้างเคียงและสิ่งแวดล้อม
ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยใน ที่มารับการรักษาด้านรังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์และรังสีร่วมรักษา โดยให้บริการผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกระบบเพศหญิงที่อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่มารักษาด้วยการฉายรังสี±ยาเคมีบำบัด รวมถึงการรักษาแบบประคับประคอง จำนวน 6 เตียง และผู้ป่วยมะเร็งเพศหญิงที่มารับบริการรังสีร่วมรักษาอีก 3 เตียง และผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่มารับประทานสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131และ ให้สารกัมมันตรังสีไอโอดีนด้วยการฉีด (MIBG) ที่ต้องอยู่ห้องแยก ซึ่งรับทุกเพศทุกวัย จำนวน 5 ห้อง รวมทั้งให้บริการผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัดแบบไปเช้า-เย็นกลับ (day ward) ซึ่งรับทั้งเพศหญิงและเพศชายอีกจำนวน 8 เตียง