ประวัติภาควิชารังสีวิทยา

ศ.เกียรติคุณ นพ.หลวงพิณพากย์พิทยาเภท
(พิณ เมืองแมน)
หัวหน้าแผนกเอ็กซเรย์วิทยา
บิดาของรังสีวิทยาแห่งประเทศไทย

ศ.เกียรติคุณ นพ.โรจน์ สุวรรณสุทธิ
หัวหน้าหน่วยวิชารังสีรักษา

ศ.เกียรติคุณ นพ.ร่มไทร สุวรรณิก
หัวหน้าหน่วยวิชารังสีไอโซโทป
บิดาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในประเทศไทย

(พ.ศ. 2431) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำริสร้าง “โรงศิริราชพยาบาล”
(พ.ศ. 2433) นักเรียนแพทย์ขึ้นทะเบียนเรียนเป็นครั้งแรก
(พ.ศ. 2436) กรมพยาบาลประกาศเปิดและตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า “โรงเรียนแพทยากร”
(พ.ศ. 2438) ศ.วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน ค้นพบรังสี “เอกซ์”
(พ.ศ. 2441) พระบำบัดสรรพโรค (นพ.อดัมสัน) ชาวอเมริกัน นายแพทย์ใหญ่ของกองลหุโทษ นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องแรกของประเทศไทย
(พ.ศ. 2443) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนแพทย์และพระราชทานนามใหม่ว่า “โรงเรียนแพทยาลัย”
(พ.ศ. 2446) พระยาวิรัชเวชกิจ (นพ.ติลิกี) นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 2 มาใช้รักษาผู้ป่วยส่วนตัว ณ บ้านแก้วฟ้า
(พ.ศ. 2455) ก่อตั้ง “วชิรพยาบาล” พระยาวิรัชเวชกิจได้เป็นผู้อำนวยการ จึงได้นำเครื่องเอกซเรย์มาไว้ใช้ที่วชิรพยาบาล
(พ.ศ. 2457) โรงพยาบาลทหารเรือ โดย นาวาโท นพ.เบอร์เมอร์ ได้นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 3 และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 4
(พ.ศ.2458) โรงพยาบาลกลางนำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 5 , โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 6 และ โรงพยาบาลเนิสซิงโฮม เข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 7
(พ.ศ.2459) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยรวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
(พ.ศ.2459 – 2470) ผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช ถ้าต้องการเอกซเรย์จะต้องส่งผู้ป่วยไปเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลกลาง แล้วนำฟิล์มเอกซเรย์ไปล้างที่ร้านถ่ายรูป และจะได้ฟิล์ม ที่ล้างเสร็จประมาณ 2-3 วัน และช่วงนั้นไม่มีรังสีแพทย์เลย แพทย์เจ้าของไข้ต้องอ่านฟิล์มเอง
(พ.ศ.2461) “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เปลี่ยนนามเป็น “คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล”
(พ.ศ.2471) นพ.พิณ เมืองแมน (หลวงพิณพากย์พิทยาเภท) สำเร็จการศึกษาด้านเอกซเรย์ จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยได้รับมอบหน้าที่ให้ตั้งแผนกเอกซเรย์ จึงนำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 8 ของประเทศ โดยได้รับบริจาคเงินจาก พระยาอรรถการประสิทธิ์ (อัลเฟรด คุณะดิลก) แรกเริ่มเปิดเป็นห้องเอกซเรย์ 1 ห้อง ณ ชั้นบนของตึกผ่าตัดศัลยกรรม ในชื่อ “แผนกเอ็กซเรย์วิทยา” ได้ดำเนินการประกอบเครื่องแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2471 และได้เอกซเรย์ผู้ป่วยคนแรกเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2471 โดย นพ.พิณ เมืองแมน เป็นหัวหน้าแผนกเอ็กซเรย์วิทยาคนแรก
(พ.ศ.2472) นพ.อำนวย เสมรสุต จบแพทยศาสตร์บัณฑิต (รุ่นแรก) บรรจุในแผนกเอ็กซเรย์วิทยา ช่วยอ่านฟิล์มเอกซเรย์และเริ่มใช้เอกซเรย์ทำการรักษาโรคผิวหนังเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นการเริ่มรังสีรักษาในประเทศไทย
(พ.ศ.2476) น.ส.เฉลิม กุลมา (จันทรินทร์) พยาบาลคนแรกเข้ามาทำงานในแผนกเอ็กซเรย์วิทยา ในช่วงเวลานั้นมีผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ รังสีแพทย์ 1 คน พยาบาล 1 คน และพนักงานวิทยาศาสตร์ 1 คน มีผู้ป่วยเอกซเรย์ราว 20 คน ต่อเดือน และเพิ่มสูงขึ้นเป็นราว 400 คนต่อเดือน และได้เริ่มสอนนักศึกษาแพทย์
(พ.ศ.2478) โรงพยาบาลศิริราชได้ดำเนินการสร้าง “ตึกรัศมีวิทยา” สำหรับเอกซเรย์โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกลำลองคือ “ตึกใต้ต้นมะขาม” และเปลี่ยนชื่อแผนกเป็น “แผนกรัศมีวิทยา” โดยติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 3 เครื่อง เครื่องฟลูโอโรสโคปี 1 เครื่อง สำหรับตรวจพิเศษทางรังสีต่าง ๆ และมีเครื่องทางรังสีรักษา 2 เครื่อง ทำให้เกิดความก้าวหน้าในการให้บริการทางรังสี มีผู้ป่วยราว 1,200 คนต่อเดือน
– แผนกฯ ได้จัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ชนิดลึกสำหรับฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งและโรคผิวหนัง ด้วยเงินประทานจากพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เป็นเครื่องฉายรังสีชนิดลึกเครื่องแรกในประเทศไทย
(พ.ศ.2481) หลวงพิณพากย์พิทยาเภท ได้ของบประมาณราชการและมอบหมายให้ นพ.อำนวย เสมรสุต ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ จัดซื้อแร่เรเดียมเพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
(พ.ศ.2482) โรงพยาบาลศิริราชได้จัดสร้างตึก 3 ชั้น ชื่อ “ตึกรังสีวิทยา”
(พ.ศ.2485) คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ออกประกาศพระราชกฤษฎีกาตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในการนี้ หลวงพิณพากย์พิทยาเภท (พิณ เมืองแมน) ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช
(พ.ศ.2486) ตึกรังสีวิทยาได้รับความเสียหายเนื่องจากถูกสะเก็ดระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยภาวะวิกฤต โรงพยาบาลศิริราชจึงได้ย้ายไปทำการที่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี
(พ.ศ.2488) หลวงพิณพากย์พิทยาเภทได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
(พ.ศ.2493) โรงพยาบาลศิริราชเปิดพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนก
(พ.ศ.2498) แผนกฯ ได้ดำเนินงานห้องปฏิบัติการราดิโอไอโซโทป เป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ นพ.ร่มไทร สุวรรณิก ตรวจวินิจฉัยต่อมไทรอยด์และรักษาโรคไทยรอยด์ด้วยราดิโอไอโอดีน รักษามะเร็งรังไข่ระยะสุดท้ายด้วยราดิโอโกลด์ และรักษาโรคเลือด เช่น ลิวคีเมีย โปลีชัยทีเมียเวลลาด้วยราดิโอฟอสฟอรัส
(พ.ศ.2498 – 2508) แผนกฯ ติดตั้งเครื่องแกมมาคาเมรา (Gamma Camera) และเริ่มการตรวจโดยใช้สารเภสัชรังสี เช่น 198Au, 131I, 82Br เป็นต้น
(พ.ศ.2501) ศ.นพ.หลวงพิณพากย์พิทยาเภทได้รับพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข
– สาขาฯ รังสีไอโซโทป วิจัยเรื่อง “คอพอกจากการขาดสารไอโอดีในประชากรทางภาคเหนือ”
(พ.ศ.2504) แผนกฯ ได้ดำเนินงานคลินิกมะเร็ง ร่วมกับแผนกสูตินรีเวช เพื่อวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช
(พ.ศ.2505) ดำเนินการแยกแผนกรังสีวิทยา ออกเป็น 3 หน่วยวิชาคือ
- หน่วยวิชารังสีวินิจฉัย มีศาสตราจารย์ นายแพทย์สนวน บูรณภวังค์ เป็นหัวหน้าหน่วย
- หน่วยวิชารังสีรักษา มีศาสตราจารย์ นายแพทย์โรจน์ สุวรรณสุทธิ เป็นหัวหน้าหน่วย
- หน่วยวิชารังสีไอโซโทป มีศาสตราจารย์ นายแพทย์ร่มไทร สุวรรณิก เป็นหัวหน้าหน่วย
– หน่วยฯ รังสีรักษาจัดซื้อเครื่องฉายรังสี Maximar Deep X-ray Machine with Oil Cooling System ขนาด 400 kV ซึ่งใช้รักษามะเร็งชนิดลึก เช่น มะเร็งปากมดลูก
– หน่วยฯ รังสีไอโซโทป ใช้เครื่องสแกน Picker rectilinear scanner with 3 inch cystal เพื่อสแกนภาพอวัยวะต่าง ๆ
(พ.ศ.2507) หน่วยฯ รังสีรักษาได้จัดซื้อเครื่อง Superficial X-ray ยี่ห้อ Dermopan สำหรับใช้รักษามะเร็งตื้นๆ เช่น บริเวณตาและใช้รักษาแผลเป็น
(พ.ศ.2508) – โรงพยาบาลศิริาชได้ทำกำหนดสร้างตึก 72 ปี เพื่อฉลองครบรอบ 72 ปี กำเนิด รพ.ศิริราช จึงได้รื้อตึกรังสีวิทยา เพื่อสร้างตึกใหม่สูง 10 ชั้น แผนกรังสีวิทยาย้ายไปอยู่ที่ตึกโอสถกรรม ชั้นล่าง เป็นเวลา 4 ปี
– หน่วยฯ รังสีไอโซโทป เริ่มการตรวจโดยการใช้สารเภสัชรังสีกลุ่ม 51Cr, 55Fe, 59Fe, 125I และ 99mTc
– หน่วยฯ รังสีรักษาขยายคลินิกมะเร็ง ร่วมกับศัลยแพทย์หน่วยเต้านม, ศีรษะและคอ แผนกศอ นาสิก โสตและลาริงซ์ และพยาธิวิทยา
(พ.ศ.2509) นักรังสีเทคนิครุ่นแรกได้เข้ามาทำงานที่หน่วยฯ รังสีวินิจฉัย
(พ.ศ.2511) หน่วยฯ รังสีรักษาเริ่มการรักษาด้วยเรเดียม โดยการใส่แร่แบบ After loading ด้วย Fletcher system
(พ.ศ.2512) วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานนามใหม่แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ว่า “ มหาวิทยาลัยมหิดล ” ทางคณะฯ จึงได้ถือโอกาสนี้เปลี่ยนนามใหม่เป็น “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล”
– โรงพยาบาลศิริราชสร้างตึก 72 ปี สร้างแล้วเสร็จ โดยเปิดดำเนินการดังนี้
– ชั้น 1 ให้บริการ “สาขาฯ รังสีรักษา” เปิดให้บริการฉายรังสีแก่ผู้ป่วยมะเร็ง และคลินิกรังสีรักษา
– ชั้น 2 ให้บริการ “สาขาฯ รังสีวินิจฉัย”เปิดให้บริการเอกซเรย์ทั่วไปและเครื่องฟลูโอโรสโคปี มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดสำหรับการตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ
– ชั้น 3 ให้บริการ “สาขาฯ รังสีไอโซโทป” เปิดบริการคลินิกเวชศาสตร์นิวเคลียร์และเปิดการบริการห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์นิวเคลียร์
– ชั้น 6 เป็นหอผู้ป่วยรังสีรักษา และหน่วยเรเดียม
– หน่วยฯ รังสีรักษาได้บรรจุ อ.ประดับ อัตถากร เป็นนักฟิสิกส์การแพทย์คนแรก
– นพ.ร่มไทร สุวรรณิก ดำเนินการขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาในการบริจาคเครื่องโคบอลท์-60 ยี่ห้อ Picker ขนาด 1,500 Curies
– นพ.ร่มไทร สุวรรณิกประดิษฐ์เครื่องเสริมไอโอดีและธาตุเหล็กลงในเกลือและน้ำปลา
(พ.ศ.2514) พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จทรงเปิดตึก 72 ปี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2514
– สาขาฯ รังสีไอโซโทป เปลี่ยนชื่อเป็น สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
– สาขา ฯ รังสีรักษาตั้งหอผู้ป่วยสำหรับรับผู้ป่วยรังสีรักษาและผู้ป่วยเคมีบำบัด ณ ตึก 72 ปีชั้น 6 ฝั่งตะวันออก และผู้ป่วยหญิงอยู่ 72 ปี ฝั่งตะวันตก
(พ.ศ.2515) แผนกฯ เปิดห้องเอกซเรย์ทั่วไป ตึกอุบัติเหตุ
(พ.ศ.2519) แผนกฯ เปิดอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านรังสีวิทยา และย้ายหน่วยเอกซเรย์ผู้ป่วยนอก มาที่ตึกผู้ป่วยนอกใหม่ (ตึกปัจจุบัน) ชั้น 2
(พ.ศ.2520) มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนชื่อ “แผนก” เป็น “ภาค”และ “หน่วย” เป็น “สาขาวิชา”
– สาขาฯ รังสีรักษา ศ.เกียรติคุณ นพ.ไพรัช เทพมงคล ได้ประดิษฐ์เครื่องมือสอดใส่แร่เรเดียมที่ดัดแปลงมาจาก Fletcher After loading Applicator สำหรับรักษามะเร็งปากมดลูก เรียกว่า “ศิริราช A-20″
– สาขาฯ รังสีรักษาติดตั้งเครื่อง Simulator เป็นเครื่องแรก
(พ.ศ.2522) สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้งเครื่องโคบอลท์-60 ยี่ห้อ Phillips นับเป็นเครื่องที่ 4 ของศิริราช
(พ.ศ.2524) สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้งเครื่องสอดใส่แร่รักษามะเร็งปากมดลูก Selectron ชนิด After loading โดยใช้แร่ Caesium-137 (เป็นการใช้แร่ Caesium ครั้งแรก)
(พ.ศ.2525) สาขาฯ รังสีวินิจฉัย ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ตึก 72 ปี ชั้น 2 เป็นชนิด single slice CT
(พ.ศ.2526) สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้ง Styrofoam Cutter สำหรับตัด Foam เพื่อบรรจุ lead Pellets เพื่อการกำบังรังสี ขณะฉายรังสี
(พ.ศ.2529) สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้เป็นผู้นำในการรักษาโรคคอหอยพอกแต่กำเนิดในทารกและการส่งเสริมเกลือเสริมไอโอดีนทั่วประเทศ โดยดำเนินการ ณ ตึกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา)
(พ.ศ.2533) สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์เปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขา วิทยาศาสตร์รังสี
– พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเครื่อง Superior SPECT Imaging System ระบบ 3 มิติ เครื่องแรก
(พ.ศ.2535) – สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้รับมอบพื้นที่ตึกผู้ป่วยนอกชั้นพื้นดิน ได้จัดตั้งหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และติดตั้ง MRI เครื่องแรก
– สาขาฯ รังสีรักษาติดตั้งเครื่องฉายรังสี Linear Accelerator ซึ่งเป็นเครื่อง LINAC เครื่องแรก (L1) ของโรงพยาบาลศิริราช ณ อาคารเร่งอนุภาค ชั้นใต้ดิน จึงเข้าสู่ยุค LINAC ของศิริราชเป็นครั้งแรก
(พ.ศ.2536) สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้งเครื่อง Hypertheramia
(พ.ศ.2537) สาขาฯ รังสีรักษาได้ติดตั้งเครื่องโคบอลท์-60 เครื่องที่ 6 ของศิริราชเป็น Theratron-780C
(พ.ศ.2543) คณะฯ เปิดพระรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ศาลาศิริราช 100 ปี
– สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ย้ายหน่วยบริการและสำนักงานไปยังอาคารศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาท ชั้น 10-14
(พ.ศ.2544) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานเครื่องฉายรังสีสามมิติแก่โรงพยาบาลศิริราช โดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลทูลเกล้าถวายเงิน จำนวน 150 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องฉายรังสีระบบสามมิติ ประกอบด้วย
– เครื่อง LINAC (L2) เพื่อทดแทนเครื่อง L1
– เครื่อง LINAC (L3) มี Multileaf Collimator
– Conventional Simulator ยี่ห้อ Ximatron
– Computerized Simulator ยี่ห้อ Picker)
– Computerized RT Planning System (RTP)
และศิริราชมูลนิธิได้อนุมัติเงิน 20 ล้านบาท ในการสร้างตึกเพื่อติดตั้งเครื่องฉายรังสีสามมิติ
– สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานชื่อว่า “ตึกรังสีราชนครินทร์” และเสด็จมาทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2545
(พ.ศ.2545) สาขาฯ รังสีรักษาเปิดให้การรักษาโดยเทคนิครังสีรักษาสามมิติ (3D-CRT : Three Dimensional Conformal Radiation Therapy) และต่อมาในปี 2548 ได้พัฒนาเป็นการรักษาโดยเทคนิครังสีรักษาแบบแปรความเข้ม (IMRT: Intensity Modulated Radiation Therapy)
(พ.ศ.2546) สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้พัฒนาสู่ยุคดิจิทัล โดยการติดตั้งระบบฐานข้อมูลภาพรังสี (PACs) และได้พัฒนาระบบสารสนเทศรังสี (Radiology Informatics System; RIS inhouse software) โดย รศ.นพ.ตรงธรรม ทองดี และ ศ.ดร.นพ.ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์ เพื่อใช้ในงานรังสีวินิจฉัยทุกชนิดการตรวจ และเปิดห้องเอกซเรย์ทั่วไประบบดิจิทัล ณ ตึกสยามินทร์ชั้น 1 เพื่อบริการผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์
– สาขาฯ รังสีรักษาติดตั้งเครื่อง Microselectron Brachytherapy Unit รวมทั้ง Plato Treatment Planning System รวม Iridium-192 Source จำนวน 18 Pellets (Pelletละ 10 Curie) และพร้อม C-Arm X-ray Unit
(พ.ศ.2547) สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ติดตั้งเครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดู (Bone Densitometer) ยี่ห้อ LEXXOS เพื่อใช้ในการตรวจผู้ป่วย
(พ.ศ.2548) สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ดำเนินการย้ายห้องผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ มาที่ ตึก 72 ปี ชั้น 9 ตะวันตก จำนวน 5 ห้อง
(พ.ศ.2550) สาขารังสีวินิจฉัยพัฒนาพื้นที่หน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ตึกผู้ป่วยนอก ชั้นพื้นดิน เป็น “ศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช” เพื่อให้บริการทางรังสีวินิจฉัยครบวงจร ได้แก่ เอกซเรย์ทั่วไป อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการตรวจเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
-สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จมาเปิดศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช
(พ.ศ.2551) สาขาฯ รังสีวินิจฉัย ปรับปรุงพื้นที่บริการ ตึก 72 ปี ชั้น 2 และให้บริการเอกซเรย์ทั่วไป ฟลูโอโรสโคปีและการบริการตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดครบวงจร
(พ.ศ.2552) สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้รับมอบและดำเนินการปรับปรุงพื้นที่บริการ ตึก 72 ปี ชั้น 1 เป็นหน่วยตรวจเอกซเรย์เคลื่อนที่ (Portable X-ray)
-สาขาฯ รังสีรักษาให้รักษาโดยเทคนิครังสีรักษาสี่มิติ (4D) โดยให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะในระหว่างการรักษา
(พ.ศ.2553) สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้ปรับปรุงพื้นที่ตึก 72 ปี ชั้นใต้ดิน จากห้องเก็บฟิล์มเป็นหน่วยภาพและการจัดเก็บข้อมูลภาพรังสี เพื่อการให้บริการเรียกและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นเก็บข้อมูล (CD)
(พ.ศ.2554) สาขาฯ รังสีรักษาให้การรักษาเทคนิค Brachytherapy ด้วยเทคนิค 3 มิติ ( Image guided adaptive brachytherapy )
และติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาค L4 พร้อมระบบเทคนิคการฉายขั้นสูง VMAT (Volumetric modulated arc therapy)
(พ.ศ.2556) สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ติดตั้งเครื่อง PET/CT เครื่องแรก ณ ศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช ตึกผู้ป่วยนอกชั้นพื้นดิน
(พ.ศ.2557) สาขาฯ รังสีรักษาติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน TrueBeam STx (L5) พร้อมระบบ Exactrac ที่ตึกปิยมหาราชการุณย์ ชั้น B2 เพื่อให้การรักษาเทคนิครังสีศัลยกรรม Stereotactive Radiosurgery (SRS) & Stereotactive Radiotherapy (SRT)
-สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ติดตั้งเครื่องไซโคลตรอน (Cyclotron) เครื่องแรกของโรงพยาบาลศิริราช ที่ศูนย์ไซโคลตรอนศิริาช ตึกปิยมหาราชการุณย์ชั้น B2
-สาขาฯ รังสีวินิจฉัยเปิดให้บริการด้าน 3D segmentation and 3D printing เพื่อการวางแผนก่อนการผ่าตัด
(พ.ศ.2558) สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ดำเนินการให้บริการผลิตสารเภสัชรังสี F-18 FDG ณ ศูนย์ไซโคลตรอน เพื่อใช้ในการตรวจผู้ป่วยมะเร็งด้วยเครื่อง PET/CT และจำหน่ายแก่สถาบันทางการแพทย์อื่น
(พ.ศ.2559) สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้ดำเนินการศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช ตึกเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการตรวจเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
-สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้รับการรับรองคุณภาพ Quality Management Audits in Nuclear Medicine Practices (QUANUM) จาก International Atomic Energy Agency (IAEA)
-สาขารังสีรักษา ติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูง L6 พร้อมระบบ Surface tracking (C-Rad) ทดแทนเครื่อง LINAC 3 ที่ตึกรังสีราชนครินทร์ ชั้นใต้ดิน
(พ.ศ.2560) สาขาฯ รังสีวินิจฉัยเปิดดำเนินการศูนย์ภาพวินิจฉัยเต้านมศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 2 ให้บริการตรวจเอกซเรย์เต้านมและหัตถการที่เกี่ยวข้อง
-หน่วยรังสีวิทยาหลอดเลือด สาขาฯ รังสีวินิจฉัย โอนย้ายเป็นศูนย์รังสีร่วมรักษา (SiCIR) สังกัดโรงพยาบาลศิริราช
(พ.ศ.2562) สาขาฯ รังสีรักษา เปิดบริการรังสีรักษา ตึกนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ชั้น B2 โดยเปิดบริการเครื่อง CyberKnife (N1) เพื่อการรักษาเทคนิครังสีศัลยกรรม, เครื่องฉายรังสีอัตราปริมาณรังสีสูงแบบเทคนิคพิเศษ Elekta (N3 & N4) พร้อม 4D cone beam CT
-สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ติดตั้งเครื่อง PET/CT ที่อาคารนวมินทรบพิัตร 84 พรรษา ชั้น 4 และให้บริการ Theranostics สำหรับ (1) การตรวจรักษาโรคมะเร็งด้วยสารเภสัชรังสี F-18 PSMA, Ga-68 PSMA สำหรับตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก (2) รักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วย Lu-177 PSMA (3) ตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมไร้ท่อระบบประสาทด้วย Ga-68 DOTATATE และ (4) รักษามะเร็งต่อมไร้ท่อระบบประสาทด้วย Lu-177 DOTATATE
(พ.ศ.2563) สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้งและเปิดบริการเครื่องฉายรังสี TrueBeam (N5) และ Magnetic Resonance image guide Linear Accelerator , MR-Linac (N4) ตึกนวมินทรบพิตรฯ ชั้น B2 เป็นเทคโนโลยีเครื่องฉายใหม่เป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ภาพ MRI ในการวางตำแหน่งการฉายได้แม่นยำ และสามารถปรับลดขอบเขตการฉายรังสีได้เมื่อก้อนมะเร็งลดขนาดลง
-สาขาฯ รังสีวินิจฉัยเปิดบริการ ตึกนวมินทรบพิตรฯ ชั้น 4 ให้บริการเอกซเรย์ทั่วไป อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการตรวจเครี่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
-สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ปรับลดค่าบริการตรวจ PET/CT เพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยมะเร็งให้เข้าถึงเทคโนโลยีราคาแพงและได้รับการวิเคราะห์โรคที่แม่นยำขึ้น
(พ.ศ.2563-66) ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19
(พ.ศ.2564) สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้ทุนวิจัยและได้ดำเนินโครงการวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
(พ.ศ.2565) สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์เปิดบริการรักษาโรคมะเร็งต่อมลุกหมากด้วยสารเภสัชรังสี Ac-225 PSMA-617
(พ.ศ.2566) สาขาฯ รังสีรักษา เปิดศูนย์รังสีรักษาระยะใกล้ (Siriraj Brachytherapy Center)

ประวัติภาควิชาฉบับเต็ม
พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริสร้าง “โรงศิริราชพยาบาล”
พ.ศ.2433 นักเรียนแพทย์ขึ้นทะเบียนเรียนเป็นครั้งแรก
พ.ศ.2436 กรมพยาบาลจึงประกาศเปิดและตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า “โรงเรียนแพทยากร”
พ.ศ.2438 ศ.วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน ค้นพบรังสี “เอกซ์”
พ.ศ.2441 พระบำบัดสรรพโรค (นพ.อดัมสัน) ชาวอเมริกัน นายแพทย์ใหญ่ของกองลหุโทษ นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องแรกของประเทศไทย
พ.ศ.2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนและพระราชทานนามใหม่ว่า “โรงเรียนแพทยาลัย”
พ.ศ.2446 พระยาวิรัชเวชกิจ (นพ.ติลิกี) นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 2 มาใช้รักษาผู้ป่วยส่วนตัว ณ บ้านแก้วฟ้า
พ.ศ.2455 ก่อตั้ง “วชิรพยาบาล” พระยาวิรัชเวชกิจได้เป็นผู้อำนวยการ จึงได้นำเครื่องเอกซเรย์มาไว้ใช้ที่วชิรพยาบาล
พ.ศ.2457 โรงพยาบาลทหารเรือ โดย นาวาโท นพ.เบอร์เมอร์ ได้นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 3 และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 4
พ.ศ.2458 โรงพยาบาลกลางนำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 5 , โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 6 และ โรงพยาบาลเนิสซิงโฮม นำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 7
พ.ศ.2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยรวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
พ.ศ.2459 – 2470 ผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช ถ้าต้องการเอกซเรย์จะต้องส่งผู้ป่วยไปเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลกลาง แล้วนำฟิล์มเอกซเรย์ไปล้างที่ร้านถ่ายรูป และจะได้ฟิล์ม ที่ล้างเสร็จประมาณ 2-3 วัน และช่วงนั้นไม่มีรังสีแพทย์เลย แพทย์เจ้าของไข้ต้องอ่านฟิล์มเอง
พ.ศ.2461 “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เปลี่ยนนามเป็น “คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล”
พ.ศ.2471 นพ.พิณ เมืองแมน (หลวงพิณพากย์พิทยาเภท) สำเร็จการศึกษาด้านเอกซเรย์ จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยได้รับมอบหน้าที่ให้ตั้งแผนกเอกซเรย์ จึงนำเข้าเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 8 ของประเทศ โดยได้รับบริจาคเงินจาก พระยาอรรถการประสิทธิ์ (อัลเฟรด คุณะดิลก) แรกเริ่มเปิดเป็นห้องเอกซเรย์ 1 ห้อง ณ ชั้นบนของตึกผ่าตัดศัลยกรรม ในชื่อ “แผนกเอ็กซเรย์วิทยา” ได้ดำเนินการประกอบเครื่องแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2471 และได้เอกซเรย์ผู้ป่วยคนแรกเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2471 โดย นพ.พิณ เมืองแมน เป็นหัวหน้าแผนกเอ็กซเรย์วิทยาคนแรก
พ.ศ.2472 นพ.อำนวย เสมรสุต จบแพทยศาสตร์บัณฑิต (รุ่นแรก) บรรจุในแผนกเอ็กซเรย์วิทยา ช่วยอ่านฟิล์มเอกซเรย์และเริ่มใช้เอกซเรย์ทำการรักษาโรคผิวหนังเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นการเริ่มรังสีรักษาในประเทศไทย
พ.ศ.2476 น.ส.เฉลิม กุลมา (จันทรินทร์) พยาบาลคนแรกเข้ามาทำงานในแผนกเอ็กซเรย์วิทยา ในช่วงเวลานั้นมีผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ รังสีแพทย์ 1 คน พยาบาล 1 คน และพนักงานวิทยาศาสตร์ 1 คน มีผู้ป่วยเอกซเรย์ราว 20 คน ต่อเดือน และเพิ่มสูงขึ้นเป็นราว 400 คนต่อเดือน และได้เริ่มสอนนักศึกษาแพทย์
พ.ศ.2478 โรงพยาบาลศิริราชได้ดำเนินการสร้าง “ตึกรัศมีวิทยา” สำหรับเอกซเรย์โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกลำลองคือ “ตึกใต้ต้นมะขาม” และเปลี่ยนชื่อแผนกเป็น “แผนกรัศมีวิทยา” โดยติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 3 เครื่อง เครื่องฟลูโอโรสโคปี 1 เครื่อง สำหรับตรวจพิเศษทางรังสีต่าง ๆ และมีเครื่องทางรังสีรักษา 2 เครื่อง ทำให้เกิดความก้าวหน้าในการให้บริการทางรังสี มีผู้ป่วยราว 1,200 คนต่อเดือน
– แผนกฯ ได้จัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ชนิดลึกสำหรับฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งและโรคผิวหนัง ด้วยเงินประทานจากพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เป็นเครื่องฉายรังสีชนิดลึกเครื่องแรกในประเทศไทย
พ.ศ.2481 หลวงพิณพากย์พิทยาเภท ได้ของบประมาณราชการและมอบหมายให้ นพ.อำนวย เสมรสุต ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ จัดซื้อแร่เรเดียมเพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
พ.ศ.2482 โรงพยาบาลศิริราชได้จัดสร้างตึก 3 ชั้น ชื่อ “ตึกรังสีวิทยา”
พ.ศ.2485 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ออกประกาศพระราชกฤษฎีกาตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในการนี้ หลวงพิณพากย์พิทยาเภท (พิณ เมืองแมน) ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช
พ.ศ.2486 ตึกรังสีวิทยาได้รับความเสียหายเนื่องจากถูกสะเก็ดระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยภาวะวิกฤต โรงพยาบาลศิริราชจึงได้ย้ายไปทำการที่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี
พ.ศ.2488 หลวงพิณพากย์พิทยาเภทได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ.2493 โรงพยาบาลศิริราชเปิดพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนก
พ.ศ.2498 แผนกฯ ได้ดำเนินงานห้องปฏิบัติการราดิโอไอโซโทป เป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ นพ.ร่มไทร สุวรรณิก ตรวจวินิจฉัยต่อมไทรอยด์และรักษาโรคไทยรอยด์ด้วยราดิโอไอโอดีน รักษามะเร็งรังไข่ระยะสุดท้ายด้วยราดิโอโกลด์ และรักษาโรคเลือด เช่น ลิวคีเมีย โปลีชัยทีเมียเวลลาด้วยราดิโอฟอสฟอรัส
พ.ศ.2498 – 2508 แผนกฯ ติดตั้งเครื่องแกมมาคาเมรา (Gamma Camera) และเริ่มการตรวจโดยใช้สารเภสัชรังสี เช่น 198Au, 131I, 82Br เป็นต้น
พ.ศ.2501 ศ.นพ.หลวงพิณพากย์พิทยาเภทได้รับพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข
– สาขาฯ รังสีไอโซโทป วิจัยเรื่อง “คอพอกจากการขาดสารไอโอดีในประชากรทางภาคเหนือ”
พ.ศ.2504 แผนกฯ ได้ดำเนินงานคลินิกมะเร็ง ร่วมกับแผนกสูตินรีเวช เพื่อวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช
พ.ศ.2505 ดำเนินการแยกแผนกรังสีวิทยา ออกเป็น 3 หน่วยวิชาคือ
- หน่วยวิชารังสีวินิจฉัย มีศาสตราจารย์ นายแพทย์สนวน บูรณภวังค์ เป็นหัวหน้าหน่วย
- หน่วยวิชารังสีรักษา มีศาสตราจารย์ นายแพทย์โรจน์ สุวรรณสุทธิ เป็นหัวหน้าหน่วย
- หน่วยวิชารังสีไอโซโทป มีศาสตราจารย์ นายแพทย์ร่มไทร สุวรรณิก เป็นหัวหน้าหน่วย
– หน่วยฯ รังสีรักษาจัดซื้อเครื่องฉายรังสี Maximar Deep X-ray Machine with Oil Cooling System ขนาด 400 kV ซึ่งใช้รักษามะเร็งชนิดลึก เช่น มะเร็งปากมดลูก
– หน่วยฯ รังสีไอโซโทป ใช้เครื่องสแกน Picker rectilinear scanner with 3 inch crystal เพื่อสแกนภาพอวัยวะต่าง ๆ
พ.ศ.2507 หน่วยฯ รังสีรักษาได้จัดซื้อเครื่อง Superficial X-ray ยี่ห้อ Dermopan สำหรับใช้รักษามะเร็งตื้นๆ เช่น บริเวณตาและใช้รักษาแผลเป็น
พ.ศ.2508 – โรงพยาบาลศิริาชได้ทำกำหนดสร้างตึก 72 ปี เพื่อฉลองครบรอบ 72 ปี กำเนิด รพ.ศิริราช จึงได้รื้อตึกรังสีวิทยา เพื่อสร้างตึกใหม่สูง 10 ชั้น แผนกรังสีวิทยาย้ายไปอยู่ที่ตึกโอสถกรรม ชั้นล่าง เป็นเวลา 4 ปี
– หน่วยฯ รังสีไอโซโทป เริ่มการตรวจโดยการใช้สารเภสัชรังสีกลุ่ม 51Cr, 55Fe, 59Fe, 125I และ 99mTc
– หน่วยฯ รังสีรักษาขยายคลินิกมะเร็ง ร่วมกับศัลยแพทย์หน่วยเต้านม, ศีรษะและคอ แผนกศอ นาสิก โสตและลาริงซ์ และพยาธิวิทยา
พ.ศ.2509 นักรังสีเทคนิครุ่นแรกได้เข้ามาทำงานที่หน่วยฯ รังสีวินิจฉัย
พ.ศ.2511 หน่วยฯ รังสีรักษาเริ่มการรักษาด้วยเรเดียม โดยการใส่แร่แบบ After loading ด้วย Fletcher system
พ.ศ.2512 วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานนามใหม่แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ว่า “ มหาวิทยาลัยมหิดล ” ทางคณะฯ จึงได้ถือโอกาสนี้เปลี่ยนนามใหม่เป็น “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล”
– โรงพยาบาลศิริราชสร้างตึก 72 ปี สร้างแล้วเสร็จ โดยเปิดดำเนินการดังนี้
– ชั้น 1 ให้บริการ “สาขาฯ รังสีรักษา” เปิดให้บริการฉายรังสีแก่ผู้ป่วยมะเร็ง และคลินิกรังสีรักษา
– ชั้น 2 ให้บริการ “สาขาฯ รังสีวินิจฉัย”เปิดให้บริการเอกซเรย์ทั่วไปและเครื่องฟลูโอโรสโคปี มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดสำหรับการตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ
– ชั้น 3 ให้บริการ “สาขาฯ รังสีไอโซโทป” เปิดบริการคลินิกเวชศาสตร์นิวเคลียร์และเปิดการบริการห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์นิวเคลียร์
– ชั้น 6 เป็นหอผู้ป่วยรังสีรักษา และหน่วยเรเดียม
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จทรงเปิดตึก 72 ปี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2514
– หน่วยฯ รังสีรักษาได้บรรจุ อ.ประดับ อัตถากร เป็นนักฟิสิกส์การแพทย์คนแรก
– นพ.ร่มไทร สุวรรณิก ดำเนินการขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาในการบริจาคเครื่องโคบอลท์-60 ยี่ห้อ Picker ขนาด 1,500 Curies
– นพ.ร่มไทร สุวรรณิกประดิษฐ์เครื่องเสริมไอโอดีและธาตุเหล็กลงในเกลือและน้ำปลา
พ.ศ.2514 – สาขาฯ รังสีไอโซโทป เปลี่ยนชื่อเป็น สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
– สาขา ฯ รังสีรักษาตั้งหอผู้ป่วยสำหรับรับผู้ป่วยรังสีรักษาและผู้ป่วยเคมีบำบัด ณ ตึก 72 ปีชั้น 6 ฝั่งตะวันออก และผู้ป่วยหญิงอยู่ 72 ปี ฝั่งตะวันตก
พ.ศ.2515 แผนกฯ เปิดห้องเอกซเรย์ทั่วไป ตึกอุบัติเหตุ
พ.ศ.2519 แผนกฯ เปิดอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านรังสีวิทยา และย้ายหน่วยเอกซเรย์ผู้ป่วยนอก มาที่ตึกผู้ป่วยนอกใหม่ (ตึกปัจจุบัน) ชั้น 2
พ.ศ.2520 มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนชื่อ “แผนก” เป็น “ภาค”และ “หน่วย” เป็น “สาขาวิชา”
– สาขาฯ รังสีรักษา ศ.เกียรติคุณ นพ.ไพรัช เทพมงคล ได้ประดิษฐ์เครื่องมือสอดใส่แร่เรเดียมที่ดัดแปลงมาจาก Fletcher After loading Applicator สำหรับรักษามะเร็งปากมดลูก เรียกว่า “ศิริราช A-20″
– สาขาฯ รังสีรักษาติดตั้งเครื่อง Simulator เป็นเครื่องแรก
พ.ศ.2522 สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้งเครื่องโคบอลท์-60 ยี่ห้อ Phillips นับเป็นเครื่องที่ 4 ของศิริราช
พ.ศ.2524 สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้งเครื่องสอดใส่แร่รักษามะเร็งปากมดลูก Selectron ชนิด After loading โดยใช้แร่ Caesium-137 (เป็นการใช้แร่ Caesium ครั้งแรก)
พ.ศ.2525 สาขาฯ รังสีวินิจฉัย ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ตึก 72 ปี ชั้น 2 เป็นชนิด single slice CT
พ.ศ.2526 สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้ง Styrofoam Cutter สำหรับตัด Foam เพื่อบรรจุ lead Pellets เพื่อการกำบังรังสี ขณะฉายรังสี
พ.ศ.2529 สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้เป็นผู้นำในการรักษาโรคคอหอยพอกแต่กำเนิดในทารกและการส่งเสริมเกลือเสริมไอโอดีนทั่วประเทศ โดยดำเนินการ ณ ตึกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา)
พ.ศ.2535 – สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้รับมอบพื้นที่ตึกผู้ป่วยนอกชั้นพื้นดิน ได้จัดตั้งหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และติดตั้ง MRI เครื่องแรก
– สาขาฯ รังสีรักษาติดตั้งเครื่องฉายรังสี Linear Accelerator ซึ่งเป็นเครื่อง LINAC เครื่องแรก (L1) ของโรงพยาบาลศิริราช ณ อาคารเร่งอนุภาค ชั้นใต้ดิน จึงเข้าสู่ยุค LINAC ของศิริราชเป็นครั้งแรก
พ.ศ.2536 สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้งเครื่อง Hypertheramia
พ.ศ.2537 สาขาฯ รังสีรักษาได้ติดตั้งเครื่องโคบอลท์-60 เครื่องที่ 6 ของศิริราชเป็น Theratron-780C
พ.ศ.2543 คณะฯ เปิดพระรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ศาลาศิริราช 100 ปี
– สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ย้ายหน่วยบริการและสำนักงานไปยังอาคารศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาท ชั้น 10-14
พ.ศ.2544 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานเครื่องฉายรังสีสามมิติแก่โรงพยาบาลศิริราช โดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลทูลเกล้าถวายเงิน จำนวน 150 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องฉายรังสีระบบสามมิติ ประกอบด้วย
– เครื่อง LINAC (L2) เพื่อทดแทนเครื่อง L1
– เครื่อง LINAC (L3) มี Multileaf Collimator
– Conventional Simulator ยี่ห้อ Ximatron
– Computerized Simulator ยี่ห้อ Picker)
– Computerized RT Planning System (RTP)
และศิริราชมูลนิธิได้อนุมัติเงิน 20 ล้านบาท ในการสร้างตึกเพื่อติดตั้งเครื่องฉายรังสีสามมิติ
– สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานชื่อว่า “ตึกรังสีราชนครินทร์” และเสด็จมาทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2545
พ.ศ.2545 สาขาฯ รังสีรักษาเปิดให้การรักษาโดยเทคนิครังสีรักษาสามมิติ (3D-CRT : Three Dimensional Conformal Radiation Therapy) และต่อมาในปี 2548 ได้พัฒนาเป็นการรักษาโดยเทคนิครังสีรักษาแบบแปรความเข้ม (IMRT: Intensity Modulated Radiation Therapy)
พ.ศ.2546 สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้พัฒนาสู่ยุคดิจิทัล โดยการติดตั้งระบบฐานข้อมูลภาพรังสี (PACs) และได้พัฒนาระบบสารสนเทศรังสี (Radiology Informatics System; RIS inhouse software) โดย รศ.นพ.ตรงธรรม ทองดี และ ศ.ดร.นพ.ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์ เพื่อใช้ในงานรังสีวินิจฉัยทุกชนิดการตรวจ และเปิดห้องเอกซเรย์ทั่วไประบบดิจิทัล ณ ตึกสยามินทร์ชั้น 1 เพื่อบริการผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์
– สาขาฯ รังสีรักษาติดตั้งเครื่อง Microselectron Brachytherapy Unit รวมทั้ง Plato Treatment Planning System รวม Iridium-192 Source จำนวน 18 Pellets (Pelletละ 10 Curie) และพร้อม C-Arm X-ray Unit
พ.ศ.2549 สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ดำเนินการให้บริการตรวจ PET/CT ณ ศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 1
พ.ศ.2550 -สาขารังสีวินิจฉัยพัฒนาพื้นที่หน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ตึกผู้ป่วยนอก ชั้นพื้นดิน เป็น “ศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช” เพื่อให้บริการทางรังสีวินิจฉัยครบวงจร ได้แก่ เอกซเรย์ทั่วไป อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการตรวจเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
-สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จมาเปิดศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช
พ.ศ.2551 สาขาฯ รังสีวินิจฉัย ปรับปรุงพื้นที่บริการ ตึก 72 ปี ชั้น 2 และให้บริการเอกซเรย์ทั่วไป ฟลูโอโรสโคปีและการบริการตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดครบวงจร
พ.ศ.2552 สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้รับมอบและดำเนินการปรับปรุงพื้นที่บริการ ตึก 72 ปี ชั้น 1 เป็นหน่วยตรวจเอกซเรย์เคลื่อนที่ (Portable X-ray)
-สาขาฯ รังสีรักษาให้รักษาโดยเทคนิครังสีรักษาสี่มิติ (4D) โดยให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะในระหว่างการรักษา
พ.ศ.2553 สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้ปรับปรุงพื้นที่ตึก 72 ปี ชั้นใต้ดิน จากห้องเก็บฟิล์มเป็นหน่วยภาพและการจัดเก็บข้อมูลภาพรังสี เพื่อการให้บริการเรียกและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นเก็บข้อมูล (CD)
พ.ศ.2554 สาขาฯ รังสีรักษาให้การรักษาเทคนิค Brachytherapy ด้วยเทคนิค 3 มิติ ( Image guided adaptive brachytherapy )
และติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาค L4 พร้อมระบบเทคนิคการฉายขั้นสูง VMAT (Volumetric modulated arc therapy)
พ.ศ.2557 สาขาฯ รังสีรักษาติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน TrueBeam STx (L5) พร้อมระบบ Exactrac ที่ตึกปิยมหาราชการุณย์ ชั้น B2 เพื่อให้การรักษาเทคนิครังสีศัลยกรรม Stereotactive Radiosurgery (SRS) & Stereotactive Radiotherapy (SRT)
-สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ติดตั้งเครื่อง Cyclotron เครื่องแรกของโรงพยาบาลศิริราช ที่ศูนย์ไซโคลตรอนศิริาช ตึกปิยมหาราชการุณย์ชั้น B2
-สาขาฯ รังสีวินิจฉัยเปิดให้บริการด้าน 3D segmentation and 3D printing เพื่อการวางแผนก่อนการผ่าตัด
พ.ศ.2558 สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ดำเนินการให้บริการผลิตสารเภสัชรังสี F-18 FDG ณ ศูนย์ไซโคลตรอน เพื่อใช้ในการตรวจผู้ป่วยมะเร็งด้วยเครื่อง PET/CT และจำหน่ายแก่สถาบันทาการแพทย์อื่น
พ.ศ.2559 สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้ดำเนินการศูนย์ภาพวินิจฉัยศิริราช ตึกเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการตรวจเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
-สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้รับการรับรองคุณภาพ Quality Management Audits in Nuclear Medicine Practices (QUANUM) จาก International Atomic Energy Agency (IAEA)
-สาขารังสีรักษา ติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูง L6 พร้อมระบบ Surface tracking (C-Rad) ทดแทนเครื่อง LINAC 3 ที่ตึกรังสีราชนครินทร์ ชั้นใต้ดิน
พ.ศ.2560 สาขาฯ รังสีวินิจฉัยเปิดดำเนินการศูนย์ภาพวินิจฉัยเต้านมศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 2 ให้บริการตรวจเอกซเรย์เต้านมและหัตถการที่เกี่ยวข้อง
-หน่วยรังสีวิทยาหลอดเลือด สาขาฯ รังสีวินิจฉัย โอนย้ายเป็นศูนย์รังสีร่วมรักษา (SiCIR) สังกัดโรงพยาบาลศิริราช
พ.ศ.2562 สาขาฯ รังสีรักษา เปิดบริการรังสีรักษา ตึกนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ชั้น B2 โดยเปิดบริการเครื่อง CyberKnife (N1) เพื่อการรักษาเทคนิครังสีศัลยกรรม, เครื่องฉายรังสีอัตราปริมาณรังสีสูงแบบเทคนิคพิเศษ Elekta (N3 & N4) พร้อม 4D cone beam CT
-สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ติดตั้งเครื่อง PET/CT ที่อาคารนวมินทรบพิัตร 84 พรรษา ชั้น 4 และให้บริการ Theranostics สำหรับการตรวจรักษาโรคมะเร็งด้วยสารเภสัชรังสี F-18 PSMA, Ga-68 PSMA สำหรับตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก รักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วย Lu-177 PSMA , ตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมไร้ท่อระบบประสาทด้วย Ga-68 DOTATATE และรักษามะเร็งต่อมไร้ท่อระบบประสาทด้วย Lu-177 DOTATATE
พ.ศ.2563 สาขาฯ รังสีรักษา ติดตั้งและเปิดบริการเครื่องฉายรังสี TrueBeam (N5) และ Magnetic Resonance image guide Linear Accelerator , MR-Linac (N4) ตึกนวมินทรบพิตรฯ ชั้น B2 เป็นเทคโนโลยีเครื่องฉายใหม่เป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ภาพ MRI ในการวางตำแหน่งการฉายได้แม่นยำ และสามารถปรับลดขอบเขตการฉายรังสีได้เมื่อก้อนมะเร็งลดขนาดลง
-สาขาฯ รังสีวินิจฉัยเปิดบริการ ตึกนวมินทรบพิตรฯ ชั้น 4 ให้บริการเอกซเรย์ทั่วไป อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการตรวจเครี่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
-สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ปรับลดค่าบริการตรวจ PET/CT เพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยมะเร็งให้เข้าถึงเทคโนโลยีราคาแพงและได้รับการวิเคราะห์โรคที่แม่นยำขึ้น
(พ.ศ.2563-66) ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19
(พ.ศ.2564) สาขาฯ รังสีวินิจฉัยได้ทุนวิจัยและได้ดำเนินโครงการวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
(พ.ศ.2565) สาขาฯ เวชศาสตร์นิวเคลียร์เปิดบริการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยสารเภสัชรังสี Ac-225 PSMA-617
(พ.ศ.2566) สาขาฯ รังสีรักษาเปิดศูนย์รังสีรักษาระยใกล้ (Siriraj Brachytherapy Center)