การประเมินคุณภาพการศึกษา
ภาควิชามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพันธกิจหลักทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การศึกษา การวิจัยและการบริการสุขภาพประชาชนให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาหลักการ วิธีการทางการแพทย์เพื่อชี้นำสังคม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งทางภาควิชาฯจะมุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานและพัฒนางานด้านรังสีวิทยาอย่างต่อเนื่องให้ได้มาตรฐานสากล โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุเป้าหมายของภาควิชาฯ ในการผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้ด้านรังสีวิทยาเพียงพอในการใช้งานทางเวชปฏิบัติเบื้องต้น ผลิตรังสีแพทย์ รังสีแพทย์ต่อยอดและบุคลากรทางด้านรังสีการแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญด้านรังสีวิทยา มีจริยธรรมและคุณธรรมเพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์ของประเทศไทยให้มีมาตรฐานสากล
หลักสูตร | กลไกสำคัญของการส่งมอบหลักสูตร |
– ก่อนปริญญา | – การบรรยายในชั้นเรียน– การสัมมนากลุ่ม– การเรียนภาคปฏิบัติข้างเตียงผู้ป่วย– การฝึกปฏิบัติและดูแลผู้ป่วยนอก– การสังเกตการณ์ใช้เครื่องมือการตรวจรักษาและการทำหัตถการในผู้ป่วยในสถานที่ปฏิบัติงานจริง– การศึกษาด้วยตนเองจากภาพตัวอย่าง (E-Teaching file)– การดูวีดิทัศน์สอนแสดงการวินิจฉัยภาพรังสี– การจัดเตรียมห้องสมุด และ E-Learning เพื่อศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง– การสอบวัดผลความรู้ของภาควิชาฯ |
– หลังปริญญา | – การบรรยายในชั้นเรียน– การศึกษาด้วยตนเองจากภาพตัวอย่าง (E-Teaching file)– การสัมมนากลุ่ม, intra & interdepartmental conference– Interhospital conference– การฝึกปฏิบัติงานกับผู้ป่วยจริงภายใต้การดูแลของอาจารย์ภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และอาจารย์ในสถาบันสมทบ– การเรียนภาคปฏิบัติข้างเตียงผู้ป่วย– การฝึกปฏิบัติงานและดูแลผู้ป่วยใน– การทำวิทยานิพนธ์และหรือร่วมงานวิจัยกับอาจารย์ผู้ดูแลในภาควิชาฯ– การประเมินระหว่างการฝึกอบรมโดยกิจกรรมที่ให้ความมั่นใจว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ (Entrustable Professional Activity: EPA)– การสอบประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนชั้นปีที่ 1– การสอบข้อเขียนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2 และ 3– การสอบปากเปล่าเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2 และ 3– การประเมินโดยอาจารย์หน่วยต่างๆในขณะปฏิบัติงานแต่ละเดือน– การจัดอบรมความรู้ต่างๆ เช่น สถิติในการวิจัย จริยธรรมในการวิจัยในคน– การจัดเตรียมห้องสมุดประจำสาขา และ E-Learning เพื่อศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง |
พันธกิจ | อาคารสถานที่ที่สำคัญ | เทคโนโลยีที่สำคัญ | อุปกรณ์ที่สำคัญ |
การศึกษา | – ตึก 72 ปี ชั้นใต้ดิน, ชั้น 1, ชั้น 2 และชั้น 10 ฝั่งตะวันออก– ตึกเฉลิมพระเกียรติ ชั้น G, 1– ตึกผู้ป่วยนอกชั้น พื้นดิน และชั้น 3– อาคารศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ชั้น 13– ตึกรังสีราชนครินทร์ ชั้น 2– ตึกนวมินทร์ฯ ชั้น 4 | – คอมพิวเตอร์ จำนวน 211 เครื่อง | – ห้องบรรยายพิณพากย์พิทยาเภท ตึก 72 ปี ชั้น 1– Conference room และ Lecture room ตึก 72 ปี ชั้นใต้ดิน และชั้น 10– ห้องประชุมโรจน์ สุวรรณสุทธิ ตึกรังสีราชนครินทร์ ชั้น 2– ห้องประชุม 1001 อาคารศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 10– ห้องประชุมสำนักงานสาขารังสีรักษา ตึก 72 ปี ชั้น 1 และ 6– ห้องบรรยายร่มไทร สุวรรณิก อาคารศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 13– ห้องประชุมฤดี ปลีหจินดา อาคารศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 14– ห้องประชุมฤดี ปลีหจินดา อาคารศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 12 |
พันธกิจ | ภาคบังคับ | ภาคสมัครใจ : ประเภท สถาบันที่ขอรับการรับรองคุณภาพ |
การศึกษา | – พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542– เกณฑ์รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)– เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2542 (สกอ.)– เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2545– ระเบียบราชวิทยาลัย แพทยสภา ในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน และ แพทย์ประจำบ้านต่อยอด– ระเบียบราชวิทยาลัยรังสีแพทย์ แห่งประเทศไทย– ข้อกำหนดกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) | – WFME (แพทยสภา,ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย) |
ผลการพัฒนาที่โดดเด่นและภาคภูมิใจ
ด้านการศึกษา
1.1 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พัฒนาสื่อการสอนให้ครบถ้วนในรูปแบบของวิดีทัศน์และสไลด์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งนักศึกษาสามารถดูทบทวนได้
จัดทำประชุมรับฟังข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนจาก นศพ.ที่มาเรียนในภาควิชารังสี จัดเป็นตารางประจำปีของทุกกลุ่ม นศพ. ในหัวข้อ ventilation และ reflection นำมาแก้ไขปัญหาและชี้แจงปัญหาบางประการเพื่อให้ นศพ. ได้เกิดความเข้าใจตรงที่ถูกต้อง อีกทั้งรับข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์กับนักศึกษากลุ่มต่อไปเข้ามาดำเนินการประชุมของฝ่ายการศึกษาภาควิชาฯ ทุกๆ เดือน เพื่อให้กรรมการฝ่ายการศึกษาของภาคฯ เสนอแนะวิธีการจัดการแก้ไขปัญหา
จัดทำเอกสารแนะนำการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาแพทย์ซึ่งได้มีการบอกวัตถุประสงค์และระเบียบปฏิบัติ และปรับปรุงรูปแบบหน้าปกมีรูปของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม
การจัดทำ VDO บันทึกการสอน นศพ. ดำเนินการครอบคลุมทั้ง 3 สาขาวิชาฯ
อยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการหนังสือ : Diagnostic Radiology สำหรับ นศพ.