Skip to content
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Siriraj Radiology Department (SIRAD)
Main Menu
เกี่ยวกับ
Menu Toggle
คณะผู้บริหาร
คณาจารย์
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
บุคลากร
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
สำนักงานภาควิชา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม
ประวัติภาควิชารังสีวิทยา
การศึกษา
Menu Toggle
ก่อนปริญญา
Menu Toggle
หลักสูตรแพทยศาสตร์
หลังปริญญา
Menu Toggle
หลักสูตรวุฒิบัตรแพทย์ประจำบ้านและต่อยอด
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
หลักสูตร วท.ม.ฟิสิกส์การแพทย์
คณะกรรมการการศึกษาหลังปริญญา
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา และมะเร็งวิทยา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
สำนักงาน
การประเมินคุณภาพการศึกษา
Menu Toggle
EdPEX
WFME
Menu Toggle
WFME หลักสูตรวุฒิบัตรฯสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย
WFME หลักสูตรวุฒิบัตรฯสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
WFME หลักสูตรวุฒิบัตรฯสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
กิจกรรมการศึกษา
วิชาการ
Menu Toggle
ประชุมวิชาการ
Menu Toggle
Upcoming events
Past events
คณะกรรมการฝ่ายวิชาการภาคฯ
งานบริการ
Menu Toggle
ความรู้สู่ประชาชน
Menu Toggle
การป้องกันอันตรายจากรังสี
VDO ความรู้ทางการแพทย์ด้านรังสีวิทยา
การรับรอง Advanced HA
Menu Toggle
งานพัฒนาคุณภาพ-การบริการทางรังสีวิทยา
QUATRO
QUADNUM
ตารางแพทย์รังสีรักษา
ขั้นตอนการรับบริการ
Menu Toggle
สาขาวิชารังสีวินิจฉัย
สาขาวิชารังสีรักษา
สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาคุณภาพภาคฯ
งานวิจัย
Menu Toggle
MOU วิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งานบริการด้านวิจัย
กิจกรรม ฝ่ายงานวิจัย
คณะกรรมการฝ่ายวิจัยภาคฯ
กิจกรรมและข่าว
Menu Toggle
ข่าวกิจกรรม
ประกาศ
รางวัล-เกียรติยศ
งานบุคคล
ตำราและหนังสือ
วารสารรังสีวิทยาศิริราช
การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram)
การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram)
การตรวจ “แมมโมแกรม” เป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษคล้ายการตรวจเอกซเรย์ มีประสิทธิภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำให้การรักษาได้ผลดีและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากการเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจแมมโมแกรมเป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจพบหินปูนที่มีลักษณะผิดปกติในเต้านม หรือรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาที และไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนเข้ารับการตรวจอีกด้วย
ใครควรตรวจแมมโมแกรมบ้าง
ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี
ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติสายตรง การป่วยเป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน ควรเริ่มตรวจเร็วขึ้นตั้งแต่อายุ 30 ปี
บุคคลที่มีประวัติตรวจยีนผิดปกติ (Gene mutation) ได้แก่ ยีน BRCA1 และ BRCA2 หรือมีญาติสายตรงที่ตรวจพบยีนผิดปกติให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปีตั้งแต่อายุ 25 ปี
บุคคลที่มีประวัติฉายแสงบริเวณทรวงอก ขณะอายุ 10-30 ปี ให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี หลังจากได้รับการฉายแสงเสร็จสิ้นแล้ว 8 ปี (แต่อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี)
บุคคลที่คลำพบก้อนเนื้อ มีเลือดออกที่หัวนม หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่เต้านม
บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเนื้องอกในเต้านม เพื่อติดตามผลการรักษา
การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ร่วมด้วย
การตรวจอัลตราซาวด์ควบคู่กับแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและการวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น การตรวจอัลตราซาวด์เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงผ่านเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับมาเกิดเป็นสภาพที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถดูองค์ประกอบได้ว่า สิ่งแปลกปลอมในเต้านมนั้นเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ โดยเฉพาะกรณีผู้ที่มีเนื้อเต้านมแน่น เช่น ในผู้หญิงอายุน้อย แต่การอัลตราซาวด์ไม่สามารถแทนที่การตรวจแมมโมแกรมได้ เพราะไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้